วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

150622 วิวัฒนาการของภาษาลาว/ภาษาต่างประเทศในภาษาลาว
ปัจจัยการรับภาษาต่างประเทศในภาษาลาว ภาษาต่างประเทศที่ปรากฎในภาษาลาว ลักษระการเปลี่ยนแปลงคำและ ความหมายของคำ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงคำต่างประเทศในภาษาลาว ประวัติความเป็นมาของภาษาลาว ลักษณะและวิวัฒนาการของอักษรลาว และอักษรโบราณ การใช้ภาษาลาว
สัปดาห์ที่ 1 ให้ความรู้ปัจจัยการรับภาษาต่างประเทศในภาษาลาวที่ใช้อดีตและปัจจุบัน พร้อมทำแบบฝึกหัดในเรื่อง อักษรธรรมบทที่ 13 – 15 ส่งในสัปดาห์ที่ 5
สัปดาห์ที่ 2 - 4 ให้ความรู้ภาษาต่างประเทศที่ปรากฎในภาษาลาว ลักษณะการเปลี่ยนแปลงคำและ ความหมายของคำ พร้อมทำแบบฝึกหัดในเรื่อง อักษรธรรมบทที่ 16 ส่งในสัปดาห์ที่ 7
สัปดาห์ที่ 5 - 7 ให้ความรู้ลักษณะการเปลี่ยนแปลงคำต่างประเทศในภาษาลาว ประวัติความเป็นมาของภาษาลาว ลักษณะและวิวัฒนาการของอักษรลาว และอักษรโบราณ การใช้ภาษาลาว
สัปดาห์ที่ 8 สอบปลายภาคเรียนที่ 3/2552 วันที่ 5 มิถุนายน เวลา 13.30 – 17.00 น. โปรแกรมสังกัดภาษาลาวเพื่อการศึกษา(อ.โปรแกรมคุมสอบ)

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

แจ้งการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 6 - 10

สัปดาห์ที่ 7 ให้ความรู้เรื่อง “ลักษณะของภาษาถิ่นภาษาตะวันตก” แล้วให้ศึกษาทำแบบฝึกหัดการภาษาลาวตะวันตก
ข้อ 1 ภาษาลาวตะวันตกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ในประเทศไทยเริ่มใช้ในจังหวัดใด
ข้อ 2 เพราะเหตุใดภาษาลาวตะวันตกจึงไม่ค่อยนิยมใช้ในใช้ สปป ลาวเป็นหลัก
ข้อ 3 ให้นักศึกษายกตัวอย่างจังหวัดที่ใช้ภาษาลาวตะวันตกมา 1 จังหวัด พร้อมทั้งอธิบายความหมายพอสังเขป
ข้อ 4 ภาษาลาวตะวันตกไดรับอิทธิพลมาจากที่ใด และคำบัญญติที่ใช้เป็นหลักใช้ภาษาใดเป็นหลัก
ข้อ 5 นักศึกษาแสดงความคิดเห็นกับการใช้อิทธิพลการใช้ภาษาลาวตะวันตกมีผลต่อการใช้ภาษาลาวเวียงจันทน์อย่างไร เพราะเหตุใด
สัปดาห์ที่ 8 ให้ความรู้เรื่อง “ลักษณะของภาษาถิ่น 5 สำเนียง ” แล้วให้ศึกษารับแบบฝึกหัดการภาษาลาว
5 สำเนียง ณ ห้องเรียนศูนย์ภาษาลาวศึกษา
สัปดาห์ที่ 9 ให้ความรู้เรื่อง “ความแตกต่างระหว่างภาษาถิ่นลาว” แล้วส่งอินเตอร์เน็ตทาง Blogger แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ภาษาถิ่นได้อย่างถูกต้อง ทบทวนความรู้ให้ผู้เรียนก่อนสอบ
สำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวสามารถแบ่งได้ 6 สำเนียงใหญ่ คือ
1. ภาษาลาวเวียงจันทน์ (เวียงจันทน์ บอลิคำไซ)
2. ภาษาลาวเหนือ (หลวงพระบาง ไซยะบูลี อุดมไซ)
3. ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ (เซียงขวาง หัวพัน)
4. ภาษาลาวกลาง (คำม่วน สะหวันนะเขด)
5. ภาษาลาวใต้ (จำปาสัก สาละวัน เซกอง อัตตะปือ)
6. ภาษาลาวตะวันตก (ไม่มีใช้ในประเทศลาว ร้อยเอ็ด)
ทางการสปป.ลาวไม่ได้กำหนดให้สำเนียงถิ่นใดเป็นสำเนียงภาษากลาง แต่การใช้ภาษาลาวอย่างเป็นทางการ เช่น ทางโทรทัศน์ วิทยุ จะใช้สำเนียงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นสำเนียงของคนเมืองหลวง สามารถเข้าใจกันได้ทั่วประเทศ การเรียนภาษาลาวในประเทศลาวนั้น รัฐบาลลาวไม่ได้บังคับให้ใช้สำเนียงเวียงจันทน์ แต่ให้สามารถใช้สำเนียงท้องถิ่นต่างๆ ได้ แต่การเรียนภาษาลาวสำหรับชาวต่างประเทศ รัฐบาลลาวแนะนำให้ใช้สำเนียงเวียงจันทน์ ฉะนั้นประชาชนในประเทศลาวจึงพูด อ่าน ภาษาลาวเป็นสำเนียงท้องถิ่นของตน แต่ประชาชนก็สามารถฟังเข้าใจใด้ทุกสำเนียงทั่วประเทศ แม้จะพูดภาษาต่างสำเนียงกันก็ตาม ภาษาลาวอีกสำเนียงหนึ่งที่ไม่มีในประเทศลาวคือ ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ด) เป็นภาษาลาวท้องถิ่นที่ใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาอีสาน สำเนียงนี้ใช้พูดกันมากในแถบตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อุดรธานี นครราชสีมา (อ.บัวใหญ่ สีดา สูงเนิน ชุมพวง บัวลาย แก้งสนามนาง ประทาย โนนแดง ปักธงชัย สีคิ้ว บางหมู่บ้าน) สุรินทร์ (อ.รัตนบุรี โนนนารายณ์) บุรีรัมย์ ( อ.พุทไธสง นาโพธิ์)- ส่วนจังหวัดอื่นๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนืองและบางจังหวัดในภาคเหนือของไทยจะใช้สำเนียงดังนี้ - ภาษาลาวเหนือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.เลย อุตรดิตถ์ (อ.บ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์
(อ.หล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อ.ภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของ อ.สีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ
(อ.คอนสาร) พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ และนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อ.สังคม) อุดรธานี (อ.น้ำโสม
นายูง บางหมู่บ้าน) - ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ค่อยมีผู้พูดในประเทศไทย จังหวัดที่พูดในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็น
ชุมชนลาวพวนที่อพยบมาจากแขวงเซียงขวาง สปป.ลาว เช่น ที่บ้านเชียง อ.หนองหาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และบางหมู่บ้าน ใน จ.สกลนคร หนองคาย และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัด สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น - ภาษาลาวเวียงจันทน์ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.ชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อ.เมือง
ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย) ขอนแก่น (อ.ภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อ.เมือง ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อ.บ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) - ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสะหวัน
นะเขด ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.นครพนม สกลนคร หนองคาย (อ.เซกา บึงโขงหลง
บางหมู่บ้าน) ถิ่นสะหวันนะเขด จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จ.มุกดาหาร - ภาษาลาวใต้ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จ.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร แต่ในปัจจุบัน ภาษาลาวตะวันตกหรือภาษาอีสาน ในประเทศไทยไม่ได้รับการพัฒนาให้ใช้เป็นภาษาทางการ รัฐบาลไทยได้กำหนดให้ใช้ภาษาไทย เป็นภาษาทางการแทน จึงทำให้ภาษาลาวตะวันตกได้รับ อิทธิพลจากภาษาไทยค่อนข้างมาก และมีการใช้คำศัพท์ภาษาไทยปะปนค่อนข้างมาก รวมทั้งไม่มีการใช้ตัวอักษรภาษาลาวในการเขียนด้วย จึงทำให้ภาษาลาวตะวันตก ในปัจจุบันแตกต่างจากภาษาลาวในประเทศลาว ฉะนั้นจึงทำให้ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยที่ไม่ได้เรียนภาษาลาวแบบ สปป.ลาว บางครั้งฟังภาษาลาวในแบบทางการ สปป.ลาวไม่เข้าใจโดยตลอด โดยจะเข้าใจแบบจับใจความรู้เรื่อง เท่านั้นแต่ไม่เข้าใจคำศัพท์ความหมายหรือประโยค ทุกคำทุกความหมายได้ เพราะคำศัพท์บางคำ สปป.ลาวบัญญัติขึ้นใหม่ ทำให้ภาษาขาดการติดต่อกัน และอาจถือได้ว่าภาษาลาวตะวันตกในประเทศไทยกับภาษาลาวในประเทศลาวเป็นคนละภาษาก็ได้ในปัจจุบันส่วนในประเทศลาว นอกจากสำเนียงถิ่นใหญ่แล้วยังมีสำเนียงถิ่นย่อย แตกออกไปจากสำเนียงใหญ่ทั้ง 5 สำเนียง ออกไปอีกหลายสำเนียงย่อย เช่น ภาษาลาวใต้ถิ่นสาละวัน ภาษาลาวกลางถิ่นสะหวันนะเขด
สำเนียงย่อยถิ่นเมืองอาดสะพังทอง ภาษาเวียงจันทน์ถิ่นเมืองปากงึม ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษาลาวใต้ ถิ่นจำปาสัก ในจังหวัด พระวิหาร สตึงแตรง และรัตนคีรีของประเทศกัมพูชาด้วย
สัปดาห์ที่ 10 สอบปลายภาคเรียนที่ 3 / 2552 ( สอบนอกตารางเรียน

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 3 - 5

นักศึกษาเป็นคริสตศาสนาจะจัดการเรียนการสอนวันที่ 11 พฤษภาคม - 5 มิถุนายน และวันเสาร์และวันอาทิตย์ตลอดเดือนมิถุนายน จึงอยากจะจัดสอบปลายภาคเรียนในเดือนกรกฎาคมนะครับ ก็ไม่ว่ากัน
สัปดาห์ที่ 3
อาจารย์จัดปฐมนิเทศในการจัดการเรียนการสอน ภาษาถิ่นเพื่อการศึกษา โดยให้หัวข้อดังต่อไปนี้
1. ลักษณะของภาษาถิ่น
2. ความแตกต่างระหว่างภาษาถิ่นลาว
สัปดาห์ที่ 4 - 5
สำหรับนักศึกษาเป็นพุทธ ก็ให้นักศึกษาจับคู่คนละ 5 คน พร้อมทั้งส่งตัวแทนมา 1 คน มาเลือกสำเนียงภาษาถิ่นที่ตัวเองได้
1. ภาษาลาวเวียงจันทน์ (เวียงจันทน์ บอลิคำไซ)
2. ภาษาลาวเหนือ (หลวงพระบาง ไซยะบูลี อุดมไซ)
3. ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ (เซียงขวาง หัวพัน)
4. ภาษาลาวกลาง (คำม่วน สะหวันนะเขด)
5. ภาษาลาวใต้ (จำปาสัก สาละวัน เซกอง อัตตะปือ)
6. ภาษาลาวตะวันตก (ไม่มีใช้ในประเทศลาว ร้อยเอ็ด) ให้ไปศึกษาตำราภาษาอีสานนะครับ
พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยมีอ.จันทะสอน เป็นวิทยากรมาให้คะแนนนักศึกษานะครับ
โดยในชั้นเรียนอาจารย์จะบรรยายให้ความรู้เรื่องลักษณะของภาษาถิ่นทั้ง 6 ภาษานะครับ

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552

แผนการสอนภาษาลาวเพื่อการศึกษา

สำหรับนักศึกษาปีที่ 5 ทุกคน เอกภาษาอินโดจีนนะครับ
สำหรับภาคเรียนที่ 3 / 2552
วิชา ภาษาลาวเพื่อการศึกษา
เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของการศึกษาลาวและการปฏิรูปการศึกษาของลาว
และเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของเพื่อนบ้านอีกด้วย
สัปดาห์แรกของ
จัดกิจกรรมของการปฐมนิเทศทาง E-learning
เพื่อที่นักศึกษาจะเรียนรู้การพัฒนาและวัฒนธรรมของชาวลาวอย่างมีความเข้าใจ
จะแจ้งโครงสร้างการสอนของผู้เรียนจะแจกให้กับนักศึกษา
สำหรับอาคารเรียน 545 ศูนย์ภาษาเวียดนาม

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

งานที่ 3

ใบงานที่ 3
ให้นักศึกษาโปรแกรมวิชาอินโดจีนในสัปดาห์ที่ผ่านมา อาจารย์ไม่ได้เขียนบล็อกแต่สั่งงานในชั้นเรียนก็ต้องขอโทษนักศึกษาด้วยนะครับ ในสัปดาห์ที่นี้ให้นักศึกษาไปเรียนรู้ทางออนไลน์ 2 บทเรียนคือ
1. ด้านภูมิศาตร์และเศรษฐกิจ
2. ด้านสถานการณ์สำคัญ
ลองไปศึกษาดูแล้วทำงานมาส่งตามกำหนดด้วยนะครับ

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ใบงานที่ 1 - 2

ใบงานที่ 1 วันที่ 16 พ.ย. 2551
ให้นักศึกษาไปศึกษาค้นคว้าประวัติความเป็นมาของสาธารัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยให้หาแหล่งทางอินเตอร์เน็ต 1 แห่ง แหล่งหนังสือ 1 เล่ม โดยให้นักศึกษาสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับอาณาจักรล้านช้างและข้อความสั้นของประวัติของชาวลาว ( กำหนดส่งหลังสอบภาษาลาวเพื่อการศึกษา) ไม่ซ้ำกันของแหล่งอินเตอร์เน็ต ส่วนหนังสือซ้ำกันได้ ควรอ้างอิงด้วยนะครับ

ใบงานที่ 2 วันที่ 23 พ.ย. 2551
ให้นักศึกษาไปศึกษาเว็บไซด์เวียงจันทน์ใหม่ดอทคอม ในหัวข้อ การปกครองสาธารณรัฐนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว โดยให้นักศึกษาทุกคนมาทำเป็นวิจัยการศึกษาในบทนำ เป็นงานกลุ่ม ให้นักศึกษาจับคู่ 5 คน พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียนในคาบความรู้เบื้องภาษาลาวในช่วงเช้านะครับ ส่วนประวัติศาตร์ลาวจะเป็นวิชาความรู้เบื้องต้นนะครับ

ส่วนวันที่ 6 ธ.ค. 2551 จะแบ่งเป็นคาบเรียนเป็น 2 ช่วง
- ช่วงที่ 1 เวลา 15.30 - 17.00 น. เป็นวิชาความรู้เบื้องต้นการใช้ภาษาลาว แทนวันที่ 10 ธ.ค. 2551
- ช่วงที่ 2 เวลา 17.00 - 18.50 น. เป็นวิชาประวัติศาสตร์

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วิชาการใช้ศูนย์ภาษาลาวศึกษา

แจ้งการเรียนการสอน แบบการศึกษาของกลุ่มนะครับ
ผู้สอน อาจารย์จันทะบุน สีเมืองใหม่
เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในงานนี้
สำหรับสัปดาห์ที่ 1 ให้นักศึกษาลงมือทำกิจกรรมกลุ่มโดยเฉพาะ เลือกประธาน เลือกรองประธาน เลือกเลขานุการ เลือกตัวแทนในการดำเนินงาน แล้ววางแผนสำหรับการจัดแผนในการให้ผู้คนเข้าศูนย์ภาษาลาวในการศึกษาในครั้งนี้ ทุกคนต้องแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ และวิธีการจัดหาแหล่งข้อมูลสำหรับการทำวิจัยและสอบถามการใช้ศูนย์ภาษาลาวในครั้งนี้ โดยสัปดาห์ที่ 1 ให้อิสระในการทำงานกลุ่มในครั้งนี้ พร้อมทั้งตั้งกติกาในชั้นเรียนให้แก่ทุกคน อาจารย์ผู้สอนจะให้คะแนนและตัดเกรดนะครับ และประเมินผลการเข้าร่วมในครั้งนี้ ส่วนสัปดาห์ต่อไปจะแจ้งทางบล็อกอีกที่นี้