วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

150622 วิวัฒนาการของภาษาลาว/ภาษาต่างประเทศในภาษาลาว
ปัจจัยการรับภาษาต่างประเทศในภาษาลาว ภาษาต่างประเทศที่ปรากฎในภาษาลาว ลักษระการเปลี่ยนแปลงคำและ ความหมายของคำ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงคำต่างประเทศในภาษาลาว ประวัติความเป็นมาของภาษาลาว ลักษณะและวิวัฒนาการของอักษรลาว และอักษรโบราณ การใช้ภาษาลาว
สัปดาห์ที่ 1 ให้ความรู้ปัจจัยการรับภาษาต่างประเทศในภาษาลาวที่ใช้อดีตและปัจจุบัน พร้อมทำแบบฝึกหัดในเรื่อง อักษรธรรมบทที่ 13 – 15 ส่งในสัปดาห์ที่ 5
สัปดาห์ที่ 2 - 4 ให้ความรู้ภาษาต่างประเทศที่ปรากฎในภาษาลาว ลักษณะการเปลี่ยนแปลงคำและ ความหมายของคำ พร้อมทำแบบฝึกหัดในเรื่อง อักษรธรรมบทที่ 16 ส่งในสัปดาห์ที่ 7
สัปดาห์ที่ 5 - 7 ให้ความรู้ลักษณะการเปลี่ยนแปลงคำต่างประเทศในภาษาลาว ประวัติความเป็นมาของภาษาลาว ลักษณะและวิวัฒนาการของอักษรลาว และอักษรโบราณ การใช้ภาษาลาว
สัปดาห์ที่ 8 สอบปลายภาคเรียนที่ 3/2552 วันที่ 5 มิถุนายน เวลา 13.30 – 17.00 น. โปรแกรมสังกัดภาษาลาวเพื่อการศึกษา(อ.โปรแกรมคุมสอบ)

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

แจ้งการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 6 - 10

สัปดาห์ที่ 7 ให้ความรู้เรื่อง “ลักษณะของภาษาถิ่นภาษาตะวันตก” แล้วให้ศึกษาทำแบบฝึกหัดการภาษาลาวตะวันตก
ข้อ 1 ภาษาลาวตะวันตกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ในประเทศไทยเริ่มใช้ในจังหวัดใด
ข้อ 2 เพราะเหตุใดภาษาลาวตะวันตกจึงไม่ค่อยนิยมใช้ในใช้ สปป ลาวเป็นหลัก
ข้อ 3 ให้นักศึกษายกตัวอย่างจังหวัดที่ใช้ภาษาลาวตะวันตกมา 1 จังหวัด พร้อมทั้งอธิบายความหมายพอสังเขป
ข้อ 4 ภาษาลาวตะวันตกไดรับอิทธิพลมาจากที่ใด และคำบัญญติที่ใช้เป็นหลักใช้ภาษาใดเป็นหลัก
ข้อ 5 นักศึกษาแสดงความคิดเห็นกับการใช้อิทธิพลการใช้ภาษาลาวตะวันตกมีผลต่อการใช้ภาษาลาวเวียงจันทน์อย่างไร เพราะเหตุใด
สัปดาห์ที่ 8 ให้ความรู้เรื่อง “ลักษณะของภาษาถิ่น 5 สำเนียง ” แล้วให้ศึกษารับแบบฝึกหัดการภาษาลาว
5 สำเนียง ณ ห้องเรียนศูนย์ภาษาลาวศึกษา
สัปดาห์ที่ 9 ให้ความรู้เรื่อง “ความแตกต่างระหว่างภาษาถิ่นลาว” แล้วส่งอินเตอร์เน็ตทาง Blogger แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ภาษาถิ่นได้อย่างถูกต้อง ทบทวนความรู้ให้ผู้เรียนก่อนสอบ
สำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวสามารถแบ่งได้ 6 สำเนียงใหญ่ คือ
1. ภาษาลาวเวียงจันทน์ (เวียงจันทน์ บอลิคำไซ)
2. ภาษาลาวเหนือ (หลวงพระบาง ไซยะบูลี อุดมไซ)
3. ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ (เซียงขวาง หัวพัน)
4. ภาษาลาวกลาง (คำม่วน สะหวันนะเขด)
5. ภาษาลาวใต้ (จำปาสัก สาละวัน เซกอง อัตตะปือ)
6. ภาษาลาวตะวันตก (ไม่มีใช้ในประเทศลาว ร้อยเอ็ด)
ทางการสปป.ลาวไม่ได้กำหนดให้สำเนียงถิ่นใดเป็นสำเนียงภาษากลาง แต่การใช้ภาษาลาวอย่างเป็นทางการ เช่น ทางโทรทัศน์ วิทยุ จะใช้สำเนียงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นสำเนียงของคนเมืองหลวง สามารถเข้าใจกันได้ทั่วประเทศ การเรียนภาษาลาวในประเทศลาวนั้น รัฐบาลลาวไม่ได้บังคับให้ใช้สำเนียงเวียงจันทน์ แต่ให้สามารถใช้สำเนียงท้องถิ่นต่างๆ ได้ แต่การเรียนภาษาลาวสำหรับชาวต่างประเทศ รัฐบาลลาวแนะนำให้ใช้สำเนียงเวียงจันทน์ ฉะนั้นประชาชนในประเทศลาวจึงพูด อ่าน ภาษาลาวเป็นสำเนียงท้องถิ่นของตน แต่ประชาชนก็สามารถฟังเข้าใจใด้ทุกสำเนียงทั่วประเทศ แม้จะพูดภาษาต่างสำเนียงกันก็ตาม ภาษาลาวอีกสำเนียงหนึ่งที่ไม่มีในประเทศลาวคือ ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ด) เป็นภาษาลาวท้องถิ่นที่ใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาอีสาน สำเนียงนี้ใช้พูดกันมากในแถบตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อุดรธานี นครราชสีมา (อ.บัวใหญ่ สีดา สูงเนิน ชุมพวง บัวลาย แก้งสนามนาง ประทาย โนนแดง ปักธงชัย สีคิ้ว บางหมู่บ้าน) สุรินทร์ (อ.รัตนบุรี โนนนารายณ์) บุรีรัมย์ ( อ.พุทไธสง นาโพธิ์)- ส่วนจังหวัดอื่นๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนืองและบางจังหวัดในภาคเหนือของไทยจะใช้สำเนียงดังนี้ - ภาษาลาวเหนือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.เลย อุตรดิตถ์ (อ.บ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์
(อ.หล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อ.ภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของ อ.สีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ
(อ.คอนสาร) พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ และนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อ.สังคม) อุดรธานี (อ.น้ำโสม
นายูง บางหมู่บ้าน) - ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ค่อยมีผู้พูดในประเทศไทย จังหวัดที่พูดในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็น
ชุมชนลาวพวนที่อพยบมาจากแขวงเซียงขวาง สปป.ลาว เช่น ที่บ้านเชียง อ.หนองหาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และบางหมู่บ้าน ใน จ.สกลนคร หนองคาย และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัด สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น - ภาษาลาวเวียงจันทน์ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.ชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อ.เมือง
ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย) ขอนแก่น (อ.ภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อ.เมือง ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อ.บ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) - ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสะหวัน
นะเขด ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.นครพนม สกลนคร หนองคาย (อ.เซกา บึงโขงหลง
บางหมู่บ้าน) ถิ่นสะหวันนะเขด จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จ.มุกดาหาร - ภาษาลาวใต้ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จ.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร แต่ในปัจจุบัน ภาษาลาวตะวันตกหรือภาษาอีสาน ในประเทศไทยไม่ได้รับการพัฒนาให้ใช้เป็นภาษาทางการ รัฐบาลไทยได้กำหนดให้ใช้ภาษาไทย เป็นภาษาทางการแทน จึงทำให้ภาษาลาวตะวันตกได้รับ อิทธิพลจากภาษาไทยค่อนข้างมาก และมีการใช้คำศัพท์ภาษาไทยปะปนค่อนข้างมาก รวมทั้งไม่มีการใช้ตัวอักษรภาษาลาวในการเขียนด้วย จึงทำให้ภาษาลาวตะวันตก ในปัจจุบันแตกต่างจากภาษาลาวในประเทศลาว ฉะนั้นจึงทำให้ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยที่ไม่ได้เรียนภาษาลาวแบบ สปป.ลาว บางครั้งฟังภาษาลาวในแบบทางการ สปป.ลาวไม่เข้าใจโดยตลอด โดยจะเข้าใจแบบจับใจความรู้เรื่อง เท่านั้นแต่ไม่เข้าใจคำศัพท์ความหมายหรือประโยค ทุกคำทุกความหมายได้ เพราะคำศัพท์บางคำ สปป.ลาวบัญญัติขึ้นใหม่ ทำให้ภาษาขาดการติดต่อกัน และอาจถือได้ว่าภาษาลาวตะวันตกในประเทศไทยกับภาษาลาวในประเทศลาวเป็นคนละภาษาก็ได้ในปัจจุบันส่วนในประเทศลาว นอกจากสำเนียงถิ่นใหญ่แล้วยังมีสำเนียงถิ่นย่อย แตกออกไปจากสำเนียงใหญ่ทั้ง 5 สำเนียง ออกไปอีกหลายสำเนียงย่อย เช่น ภาษาลาวใต้ถิ่นสาละวัน ภาษาลาวกลางถิ่นสะหวันนะเขด
สำเนียงย่อยถิ่นเมืองอาดสะพังทอง ภาษาเวียงจันทน์ถิ่นเมืองปากงึม ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษาลาวใต้ ถิ่นจำปาสัก ในจังหวัด พระวิหาร สตึงแตรง และรัตนคีรีของประเทศกัมพูชาด้วย
สัปดาห์ที่ 10 สอบปลายภาคเรียนที่ 3 / 2552 ( สอบนอกตารางเรียน